พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2545)
พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2545)

พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2545)

(กลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนหลังจาก 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2545)พายุไต้ฝุ่นรามสูร หรือที่ในฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุไต้ฝุ่นโฟลรีตา (ตากาล็อก: Florita) เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีส่วนทำให้เกิดฝนตกหนัก และน้ำท่วมร้ายแรงในประเทศฟิลิปปินส์ พายุไต้ฝุ่นรามสูรเป็นพายุดีเปรสชันลูกที่ 11, พายุโซนร้อนลูกที่ 5 และพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 3 ในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545 ก่อตัวขึ้นจากความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2545 ในช่วงเวลาเดียวกันกับพายุไต้ฝุ่นชาทาอานห่างไกลออกไปทางทิศตะวันตก ระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุโซนร้อน และเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเพื่อมุ่งหน้าสู่ประเทศไต้หวัน พายุไต้ฝุ่นรามสูรมีกำลังแรงสูงสุดในวันที่ 2 กรกฎาคม ด้วยความเร็วลม 165 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (105 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 930 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.46 นิ้วของปรอท) ต่อมาในวันนั้น พายุไต้ฝุ่นรามสูรเริ่มเคลื่อนตัวหันไปทางทิศเหนือผ่านทางตะวันออกของประเทศไต้หวัน และประเทศจีน หลังจากนั้นพายุก็เริ่มอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน เนื่องจากร่องน้ำกำลังเคลื่อนตัวเข้าหากัน ซึ่งทำให้พายุเคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของมิยาโกจิมะ และทางตะวันตกของจังหวัดเชจู ฝนตกหนักจากพายุหมุนนอกเขตร้อนที่ส่งผลกระทบต่อประเทศเกาหลีเหนือ และดินแดนปรีมอร์เยในรัสเซียตะวันออกไกล[1]การวิเคราะห์โครงสร้างจลนพลศาสตร์เคมี และอุณหพลศาสตร์ของพายุไต้ฝุ่นรามสูรอยู่ทางทิศเหนือในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือโดยใช้หน่วยเสียงไมโครเวฟขั้นสูง การดูดซึมข้อมูลรูปแบบสามมิติใช้ในการสังเกตโดยดาวเทียมของโนอา และผลการวิจัยพบว่าลักษณะโครงสร้างของพายุสามารถอธิบายได้อย่างสมเหตุสมผลมากขึ้นจากข้อมูลที่หลอมรวมเข้าด้วยกัน เช่น การไหลเวียนศูนย์กลางของพายุ และปริมาณน้ำฝนได้รับการพัฒนามากขึ้น เป็นต้น[2]สายฝนชั้นนอกกำแพงตาของพายุไต้ฝุ่นรามสูรได้ลดปริมาณน้ำฝน ซึ่งช่วยบรรเทาความแห้งแล้งในประเทศจีนได้ แม้ว่าจะมีความเสียหายน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ และจังหวัดแห่งหนึ่งในมณฑลเจ้อเจียงได้รับความเสียหายประมาณ 85 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากส่งผลกระทบต่อประเทศไต้หวัน และประเทศจีน บ้านเรือนในจังหวัดโอกินาวะประมาณ 10,000 หลัง ได้ประสบปัญหาไฟฟ้าดับจากลมแรง พืชผลได้รับความเสียหายเล็กน้อย มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส 1 ราย และคลื่นสูงซัดเรือล่มทำให้มีลูกเรือเสียชีวิต 2 ราย ในประเทศญี่ปุ่น หลังจากพายุเคลื่อนตัวผ่านทางตะวันตกของจังหวัดเชจูจึงทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย และเกิดความเสียหาย 9.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[3]

แหล่งที่มา

WikiPedia: พายุไต้ฝุ่นรามสูร (พ.ศ. 2545) http://australiasevereweather.com/cyclones/2003/su... http://agora.ex.nii.ac.jp/cgi-bin/dt/dsummary.pl?i... http://agora.ex.nii.ac.jp/cgi-bin/dt/report.pl?id=... http://agora.ex.nii.ac.jp/cgi-bin/dt/report.pl?id=... http://agora.ex.nii.ac.jp/cgi-bin/dt/report.pl?id=... http://agora.ex.nii.ac.jp/digital-typhoon/summary/... //doi.org/10.1007%2FBF02900323 https://link.springer.com/article/10.1007/BF029003... https://epod.usra.edu/blog/2002/07/typhoon-rammasu... https://www.ncei.noaa.gov/access/monitoring/monthl...